
สรุปงาน Start it now จัดโดย Chula Tech startup
มาแบบ งงๆ ทั้งฮอลล์เป็นนักศึกษากว่า 90% เนื้อหาส่วนใหญ่จึงเป็นแนวสร้างแรงบันดาลใจ ชอบ Speaker เกือบทุกคน แม้จะเคยฟังแต่พี่กระทิง อาจจะเพราะผมเองก็จบมาทำงานไม่ตรงสาย (จบสถาปัตย์มาทำการเงิน) น้องๆได้ฟัง คงเปลี่ยนสายงานกันสนุกแน่นวล
ลองปรับใช้กันได้นะคับ ผมเองก็ได้หลายเรื่อง ในยามที่หิวกระหาย Input มากเช่นตอนนี้
วิทยากร 5 ท่าน จะยาวนิดนึง ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคับ

คุณนก SEA Thailand
• “ตอนนี้ สิ่งที่มีความหมายสำหรับคุณที่สุดคืออะไร” คือ คำถามที่ทุกคนควรจะตอบได้ในทุกช่วงเวลา หรือแม้แต่ช่วงชีวิต
• เทคนิคของการประสบความสำเร็จของคุณนกมี 3 อย่าง ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ปรับตัวให้ได้ และอย่ายอมแพ้
• ตอนเด็กชอบเล่นเกม และอาจเป็นความบังเอิญ (หรือตั้งใจ) ที่ได้มาบริหารบริษัทที่เริ่มจากขายเกมเพียงอย่างเดียว จนปัจจุบันเป็นองค์กรขนาด 2,000 คน
• Diversity เป็นจุดแข็งอย่างหนึ่ง เพราะตั้งแต่จบมาได้ทำงานหลายสาย แต่สุดท้ายมาประกอบกันจนเป็นผู้บริหารที่มีทักษะหลายด้าน
• ไม่ควรเอาสถานะใดๆ มาเป็นปัจจัยในการติดสินใจทำอะไรสักอย่าง เช่น อายุ สภาวะสมรส ความถนัด เพราะมันเป็นข้ออ้างของความกลัวที่จะไม่ทำ
• เริ่มจากการเป็นบริษัท Software House เมื่อ 10 ปีก่อน

• คุณโจ้ QueQ
• ความผิดพลาดหลัก ในช่วงเวลานั้นคือ ไม่ยอมปล่อย ไม่กระจายงาน (เพราะกลัว Quality ตก) แต่สุดท้าย ต่อให้งานคุณภาพดีแค่ไหน แต่ขาดวินัย ก็พังหมดเหมือนกัน
• ส่วนการทำงาน เชื่อใน Lean Process คือ การมีเป้าหมายสูงนั้นดี แต่ควรแบ่งย่อยความสำเร็จเป็นขั้นๆ ไม่ต้องขึ้นทีเดียวสุด แต่พักตามชานบันได ทำมันให้มีสีสรรและปรับตัวไปเรื่อยๆ ระหว่างทาง สภาวะแวดล้อมต่างๆ
• บางครั้งสิ่งที่คิดว่า Work มันไม่ออกมาตรงใจเรา ก็เป็นจุดคัดตัว ว่า ใครจะไปต่อ หรือใครจะเลิก (ตัวอย่างการนำเสนอระบบให้กับ ร้านขนมที่มีคิวยาวมากๆ แต่เค้าไม่เอา แล้วจะเลิกไหม)
• แต่สิ่งที่สำคัญ (น่าจะ) ที่สุด คือ Mindset ในการ ”ให้อภัยตัวเอง” ในวันที่เราทำผิดพลาดไป ไม่สมหวัง เราจะบอกตัวว่า “ไม่เป็นไร คราวหน้าลองใหม่ได้” หรือ จมอยู่กับความล้มเหลว และล้มเลิก
• เทคนิค การเข้า Accelerator ต่างๆของบริษัท เพื่อต้องการเข้าไปขยายตลาดในประเทศนั้นๆ
• ความดื้อของ Startup QueQ คือการไม่ยอมตัดผม จนกว่าจะ Raise Fund รอบต่อไปสำเร็จ (รอบที่แล้วไว้ได้ 7 นิ้ว …เอาสิฟระ)
คุณยีราฟ Saturday School
• มองเห็นปัญหาที่อยากแก้ แต่หลายคนคงเป็นเช่นเดียวกันว่า สุดท้ายแล้วมันจะเหมาะกับเราไหม
• การแก้ปัญหาคือ เอาตัวเข้าไปอยู่ในปัญหานั้นๆ เพื่อให้เกิดความ “อิน” และมองเห็นทางแก้ไขจาก “ข้างใน”
• ค้นพบกว่า ปัญหาต่างๆ ส่วนใหญ่ การศึกษาคือต้นเหตุ (Root course) จึงเริ่มทำ Startup ด้านการศึกษา
• โรงเรียนวันเสาร์ เปิดโอกาสให้ “คนที่อยากเรียน” พบ “คนที่อยากสอน” ในเรื่องใดๆก็ได้ ที่คิดว่าเด็ด คือมันเป็นสถานที่ ไม่ใช่แค่ Online Platform เห็นผลกันจะๆ ไปเลย
• หากเราเริ่มแก้ปัญหา เพียงเพราะหวังว่าจะตอบสนองความต้องการของเรา อาจจะทำได้ไม่นาน เพราะเมื่อสำเร็จระดับหนึ่ง จะไม่มีแรงผลักดันให้ไปต่อ สุดท้ายไม่ถึงปัญหาที่ตั้งใจแก้
• ดังนั้น ก่อนเริ่มทำจึงควรมี Purpose beyond yourself เป้าหมายที่ไกลมากกว่าตนเอง
• ไม่ควรนำความกลัว มาเป็นเหตุผล ปัจจัยในการเลือกสิ่งใดๆ ในชีวิต นอกจากการเที่ยวบ้านผีสิง (เติมเอง)
• สุดท้ายคือ เรื่องของการลงทุน ไม่ใช่ในตลาดหุ้น แต่ลงทุนกับการใช้เวลาเรียนรู้ เพราะถึงแม้จะ Work หรือไม่ แต่อย่างน้อยได้เรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้นอย่างหนึ่งก็คุ้มแล้ว ไม่ทำอะไรเลยก็ไม่ได้อะไรเลย
• คุณ Toffy Bradshaw, The Standard columnist
• เราไม่สามารถบังคับให้หัวใจเรารู้สึก … กับเรื่องที่เราไม่รู้สึกได้ (คนรอบตัวเรา ก็เช่นกัน)
• ชอบภาษาไทยมาก แต่ตอนเรียน วิชาสายวิทย์ ยังไงก็ไม่ชอบ ไม่รู้สึกว่าจะได้ประโยชน์อะไร และก็พลอยทำให้กลายเป็นส่วนเกินของห้อง เป็นอากาศธาตุไป
• แต่สภาวะของการเป็น “ฝุ่น” นั้น หากพิจารณาให้ดี ก็สามารถทำให้เราได้เข้าใจ หัวอกของคนที่ไม่มีค่า มองจากมุมของคนที่ไม่มีใครเห็นได้มากขึ้น สามารถที่จะเลือก ชื่นชมความเก่งของผู้อื่นในเรื่องที่เราไม่ถนัดบ้าง ก็เป็นความสุขในการมองโลกอีกแบบหนึ่ง
• ความล้มเหลวในแต่ละครั้ง อยู่ที่เรามอง และพิจารณาว่า เราจะได้ประโยชน์อะไรจากมันได้บ้าง
•ลองเอาตัวไปอยู่ในสนามที่ไม่คุ้นเคยบ้าง อย่างน้อยก็ช่วยลดความกร่าง (Ego) ของตัวเองลงได้
• ไม่ว่าเราจะโหยหายความสำเร็จ ขนาดไหน ขออย่าให้เป็น ”ความสำเร็จที่เดียวดาย” พึงระลึกถึงคนที่อยู่รอบตัวไว้เสมอในวันที่เรายังทำได้อยู่ ชนะแล้วต้องมีคนที่ดีใจกับ ยิ้มไปด้วยกัน
• เปลี่ยนจากคำว่า “เดี๋ยว” เป็น “เดี๋ยวนี้” สองคำนี้ ห่างกันไกลกันมากเหลือเกิน
• ทำงานเสร็จในแต่ละวัน ก่อนนอน ลองนึกหาเรื่อง ชมตัวเองให้ได้สักเรื่องนึง ในวันนั้น
คุณพี่กระทิง คนกำแพง, KBTG
• ถ้าอุปสรรคไม่ยิ่งใหญ่ไปกว่าความตาย ต้องมีทางที่มันจะทำได้ แก้ได้ ห้ามยอมแพ้ (คุณแม่ ฟื้นจากสภาวะหยุดหายใจมาสอนแบบนี้เลย)
• เชื่อว่าทุกคนมีจุดสว่าง จุดเด่น ที่แตกต่างกันเป็นของตนเอง มีมากมีน้อยแล้วแต่ สิ่งที่ต้องทำคือ หามันให้เจอแล้วค่อยๆขยายจุดขาวนั้นทีละนิดๆ ไม่ใช่เพ่งแต่พื้นที่สีดำที่รายล้อมมันอยู่
• บางครั้ง ความไม่รู้ ความไร้เดียงสา ก็เป็นจุดแข็งอย่างไม่แน่เชื่อ “ความไม่แยแส ต่อคำว่าเป็นไปไม่ได้” (Healthy ignorance of impossibility) และบางครั้งไม่สามารถย้อนกลับได้
• มีไอเดียดีแค่ไหนก็ตาม แต่ถ้าไม่มีวินัย = ภาพลวงตา = ไม่สำเร็จ
• ต้องพาตัวเองเข้าไปอยู่ใน Winning Environment ให้ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าไม่เก่งภาษา จะทำอย่างไรให้เกิด Routine ที่พาไปสู่การแก้ปัญหา การชนะในเกมนั้นๆได้ คุณกระทิงอ่านหนังสือเพิ่มวันละ 2 ชั่วโมงตั้งแต่ตี 4 เป็นเวลา 6 ปี ทำให้สามารถสอบแข่งขันระดับโอลิมปิกได้
• คนเก่งๆ รุ่นใหม่ เลือกทำงานเพราะ Purpose สอดคล้องกับแนวความคิดเขา ไม่ใช่เพราะเงิน(อย่างเดียว)
• การมี Passion อย่างเดียวอาจทำให้คุณสำเร็จได้ แต่อาจจะเขวหลงทาง ไม่ Fulfill ช่องว่างในหัวใจ การเติมเต็มต้องมี Passion + Purpose จะดีที่สุด อะไรคือสิ่งที่เป็นเป้าหมาย ขยันทุ่มเทนั้น ทำไปเพื่ออะไร?
• หากมีโอกาสระดับ Breakout Opportunity เข้ามา แม้ว่ามันจะยากและไม่ถนัดแค่ไหน ขอให้รับไว้เสมอ
• เชื่อใน “กฎ 40%” ของหน่วยซีลที่ว่า ไม่ว่าคุณจะคิดว่าสุดๆของคุณคือแค่ไหน จริงๆแล้ว คุณจะทำได้มากกว่านั้น 40% เสมอ
• อะไรที่มันต้องมีในโลกนี้ และมันไม่มี … ก็แค่สร้างมันขึ้นมา และถ้ามีคนบอกว่า มันเป็นไปไม่ได้ ให้ท่องไว้ว่า “ช่าง-แม่ม-มัน” คือคาถาวิเศษ
• พยายามหาทาง สร้างตัวเองในเวอร์ชั่นใหม่ (Reinvent yourself) ให้ได้ในทุกๆ 3 ปี
• ในชีวิตคนเรามีแค่ 2 วัน วันดี (Good Day) คือวันที่ตื่นมาเจอแต่ปัญหา เจอแต่เรื่องที่จัดการแก้ไข เพราะอย่างน้อยเราก็ทำในสิ่งตัวเราเองเมื่อวานทำไม่ได้ ส่วน วันแย่ (Bad Day) คือวันที่เราไม่เจอเรื่องอะไรเลย สบายทั้งวัน
• Work Life Balance = Bullshit , Work Life Integration = even worse bullshit (อันนี้เห็นด้วยมาก)
• เรารู้อยู่แล้ว คนเรามักจะเสียใจกับสิ่งที่ไม่ได้ทำ มากกว่าสิ่งที่ทำ เพราะฉะนั้นลดโอกาสเสียใจตรงนั้นลงซะ ด้วยการลงมือทำไปเหอะ
• ก่อนอื่นต้องตอบให้ได้ว่า เราจะทำมันไปทำไม (Find you why) และเราจะทำมันยังไง (What’s the way) และที่สำคัญต้องตอบตัวเองว่า แล้วทำไมถึงจะไม่ทำล่ะ (Why not?)
บทความโดย พงษ์ธร ถาวรธนากุล, CFA MD Merchant partners securities