ในยุค 4.0 ที่การซื้อขายสินค้าออนไลน์กำลังเป็นที่นิยม ทำให้เกิดธุรกิจ e-commerce ในรูปแบบต่างๆ ส่งผลให้โลจิสติกเติบโตอย่างต่อเนื่อง พฤติกรรมของกลุ่มคนในรุ่นต่างๆ
พฤติกรรมการบริโภคและช่องทางการเสพสื่อต่างๆของแต่ละ Generation ต่างๆ
“Generation” คือการแบ่งกลุ่มประชากรตามหลักประชากรศาตร์ ไม่มีการกำหนดปีที่แน่นอนแต่แบ่งเป็นกลุ่มตามยุคสมัย โดยมีความเชื่อว่าประชากรที่เติบโตมาในสภาวะแวดล้อมไกล้เคียงกัน จะมีลักษณะนิสัย ทัศนติ และพฤติกรรมที่ไกล้เคียงด้วยเช่นกัน
การแบ่ง generation จึงนิยมนำมาใช้ในการแบ่งส่วนการตลาด เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกช่องทางการรับข่าวสาร จนไปสู่วิธีการเลือกซื้อสินค้าของแต่ละกลุ่ม
แม้ความเป็นจริงแล้ว การแบ่ง generation ได้ถูกแบ่งไว้อย่างละเอียดในแต่ละยุค แต่ส่วนที่นิยมนำมาศึกษา คือประชากรในช่วงยุค Baby Bloom, X, Y ที่เป็นแรงขับเศรฐกิจในปัจจุบัน รวมถึง Z ที่กำลังก้าวเข้ามาสู่วงจรเศรฐกิจ และจะมีอิทธิพลในสังคมในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า
[ มาดูลักษณะไลฟ์ไสตล์ของแต่ละ Gen กัน ]
Baby Bloomer
- 1960s – 1970s
- ยุคฟื้นฟูประเทศ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
- ส่วนมากเป็นเจ้าของกิจการ หรือเกษียณ
ลักษณะ: เคารพกฎเกณฑ์ กติกา อดทน ทุ่มเทให้กับการทำงานและองค์กร ได้รับการสั่งสอนมาให้ประหยัด อดออม ใช้จ่ายอย่างรอบคอบและระมัดระวัง เคร่งครัดในขนบธรรมเนียมประเพณี มีจำนวนมากที่สุดในสังคมปัจจุบัน
พฤติกรรมการเสพสื่อ: วิทยุ, โทรทัศน์, นิตยสาร, หนังสือพิมพ์ (ปัจจุบันมีการปรับตัวมาใช้อินเตอร์เน็ตบ้าง)
พฤติกรรมการเงิน: นิยมทำธุรกรรมการเงิน โดยผ่านสาขาธนาคารที่ใช้อยู่
Generation X
- ประมาณ 1970s – 1980s
- ยุคที่เศรฐกิจโลกได้เติบโตแล้ว
- วัยทำงาน หรือเป็นผู้บริหาร
ลักษณะ: เติบโตมากับการพัฒนาของเทคโนโลยี, วิดีโอเกม และคอมพิวเตอร์ ชอบทำอะไรง่าย ๆ ไม่ต้องเป็นทางการ ทำทุกอย่างได้เพียงลำพังไม่พึ่งพาใคร ให้ความสำคัญเรื่องความสมดุลระหว่างงานกับครอบครัว เป็นตัวของตัวเองสูง มีความคิดเปิดกว้าง ไม่ได้เชื่อเรื่องศาสนา และ ไม่ได้ยึดขนบธรรมเนียมประเพณีมากนัก มีความยืดหยุ่นในการปรับตัวกับวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป
พฤติกรรมการเสพสื่อ: ยังใช้ วิทยุ, โทรทัศน์, นิตยสาร, หนังสือพิมพ์ บ้าง แต่ใช้เวลาในสื่อดิจิทัลและพื้นที่ออนไลน์มากด้วยเช่นกัน
พฤติกรรมการเงิน: นิยมบริหารเงินและทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ แต่ยังมีความเชื่อมั่นและให้ความสำคัญกับการทำธุรกรรมการเงินแบบ person to person ที่สุด
Generation Y
- ประมาณ 1980s – 1990s
- เกิดมาในยุคเศรฐกิจที่ดีขึ้นมาก
- อยู่ในวัยเริ่มต้นทำงาน หรือยังเรียนอยู่
ลักษณะ: กล้าคิด กล้าถาม กล้าแสดงออก มีอิสระในความคิด มีความมั่นใจและเป็นตัวของตัวเองสูง มีความรู้ด้านเทคโนโลยี ชอบความท้าทายในงาน มองหาโอกาสเติบโตในงาน ไม่ชอบอยู่ในกรอบ ความอดทนต่ำ ชอบความรวดเร็ว และสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ดี และชอบทำงานเป็นทีม ระดมความคิดเห็น ให้ความสำคัญเรื่องการสร้างสมดุลในชีวิตและหน้าที่การงาน
พฤติกรรมการเสพสื่อ: ชอบเสพข่าวสารผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่หลากหลาย นิยมทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านสมาร์ทโฟน ใช้หลากหลายโซเชียลมิเดียร์ แต่ยังใช้คอมพิวเตอร์บ้างในบางเรื่อง
พฤติกรรมการเงิน: เน้นใน feature ของสินค้ามากกว่าแบรน ให้ความสำคัญกับบริการหลังการขายที่ดี นิยมใช้เครื่องมือดิจิทัลมาช่วยบริหารการ และทำธุรกรรมการเงิน
Generation Z
- ประมาณ 2000s – ปัจจุบัน
- เกิดมาในยุคที่พร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกสบาย
- ยังเป็นนักศึกษา หรือเด็กรุ่นใหม่ในปัจจุบัน
ลักษณะ: มีความมั่นใจและเป็นตัวของตัวเองสูง เติบโตมาพร้อมเทคโนโลยี และสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายอยู่ในชีวิตประจำวัน มีความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยีต่างๆ และเรียนรู้ได้เร็ว สิ่งที่แตกต่างจากรุ่นอื่นๆ คือเชื่อมโยงและเข้าถึงโลกสากล ผ่ายโซเชียล และพื้นที่ออนไลน์ต่างๆ มีความรู้รอบตัวสูง นิยมค้นคว้าและหาความรู้ด้วยตัวเองผ่านโลกออนไลน์
พฤติกรรมการเสพสื่อ: รู้จักการใช้สมาร์ทโฟนตั้งอต่จำความได้ ใช้โซเชียลในการติดตามข่าวสาร และแสดงคามคิดเห็นของตัวเองให้ทุกคนรู้
พฤติกรรมการเงิน: ซื้อสินค้าไม่ได้คิดถึงประโยชน์หรือความคุ้มค่าการใช้งาน แต่มุ่งเน้นถึงความสามารถในการขายต่อเพื่อทำกำไร เน้นสินค้าที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวเอง นิยมใช้สมาร์ทโฟนทำธุรกรรมการเงินออนไลน์มากๆ เพื่อหลีกเลียงการเข้าธนาคารอย่างสิ้นเชิง
[ เปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ XYZ ]
การค้นคว้าเรื่องการตัดสินใจซื้อของออนไลน์ของแต่ละ generation
โดยอ้างอิงจาก 3 กลุ่ม generation คือ X, Y, Z ภายในเขตกรุงเทพและปริมณฑล (คาดว่ากลุ่ม Baby Bloom ในไทย ที่ปรับตัวมาใช้สื่อออนไลน์และทำธุระกรรมออนไลน์ยังมีจำนวนน้อย)
| การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ในรอบ 6 เดือน |
การสั่งซื้อสินค้า | X | Y | Z |
ไม่ซื้อเลย | 76.9 | 30.3 | 66 |
1-2 ครั้ง | 21.7 | 32.2 | 31.2 |
1-2 ครั้ง | 0.7 | 28 | 2.8 |
1-2 ครั้ง | 0.7 | 9.8 | – |
| ประเภทสินค้าออนไลน์ในรอบ 6 เดือน |
ประเภทสินค้า | X | Y | Z |
ไม่ซื้อสินค้า | 76.9 | 30.3 | 66 |
เสื้อผ้า | 0.7 | 36.6 | 25 |
อิเล็กโทรนิค | 9.8 | 7.0 | 1.4 |
เครื่องสําอาง | 6.3 | 23.9 | 7.6 |
ของใช้มือสอง | 6.3 | 2.1 | – |
| เหตุผลที่ไมสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ |
เหตุผล | X | Y | Z |
ไม่มีโอกาสได้เห็นสินค้าจริง | 85.5 | 4.7 | 7.4 |
ราคาแพงกว่าซื้อช่องทางปกติ | 2.7 | 9.3 | 12.6 |
ไม่มีสินค้าที่น่าสนใจ | 7.3 | 14 | 17.9 |
ไม่แน่ใจในระบบการจ่ายชําระ | 4.5 | 18.6 | 14.7 |
อื่นๆ (เหตุผลส่วนใหญ่คือไม่มีเงินซื้อ) | – | 53.5 | 47.4 |
(งานวิจัยโดย ธัญนันท์ วีรภัทรรุ่งโรจน์ มหาวิทยาลัยเนชั่น)
การจัดกลุ่มคนเป็น generation ควรพึงระวังไม่ให้ชี้ขาดจากการพิจารณาจากยุคสมัยเพียงอย่างเดียว อาจจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางเศรฐกิจ, สังคม, วัฒนธรรม, ภูมิลำเนา และเชื้อชาติของกลุ่มคนที่ศึกษาด้วย เช่น Baby Bloomer ในอเมริกาและในไทยอาจจะไม่เหมือนกันสักทีเดียว ทั้งเรื่องพฤติกรรมทั่วไป และรูปแบบการปรับตัวให้เข้ากับยุคปัจจุบัน
มีกลุ่ม generation X จำนวนมากที่มีลักษณะเหมือนกับ X, Z
Reference
https://communityrising.kasasa.com/gen-x-gen-y-gen-z/
http://it.nation.ac.th/research/ntu/files/57011320171f.pdf
https://www.thaitradeusa.com/home/?p=21482
https://brandinside.asia/insight-internet-user-generation/